
อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตสำหรับมนุษย์ แต่พวกเรารู้หรือไม่ ว่าในแต่ละปี มีอาหารจำนวนมาก ที่ถูกทิ้งให้กลายเป็น “ขยะอาหาร (food waste)” เป็นจำนวนมหาศาล “ขยะอาหาร” เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น อายุของวัตถุดิบที่นำมาใช้ประกอบอาหารเกิดการเน่าเสีย ในกระบวนการ จัดเก็บ การผลิต การขนส่ง หรือ ขยะอาหารจากร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า หรือ อื่นๆ หรือแม้กระทั่งเศษอาหาร หรืออาหาร หมดอายุในบ้านของเราเองก็เป็นส่วนนึงของการสร้างขยะอาหารเช่นกัน
“ขยะอาหาร” กลายหนึ่งในปัญหาใหญ่ที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญ เพราะการเน่าเสียของอาหารที่ถูกทิ้ง เหล่านี้ ปล่อยก๊าซมีเทนซึ่งเป็นหนึ่งในก๊าซ เรือนกระจก ที่เป็นตัวการใหญ่ที่ทำให้โลกร้อนมากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กว่า 25 เท่า
ข้อมูลอ้างอิงจาก TDRI (Thailand Development Research Institute) บอกว่าในแต่ละปี ทั่วโลกจะมีขยะอาหาร ที่ต้องถูกฝังกลบประมาณ 1,300 ล้านตัน ซึ่งจะก่อให้เกิดมลพิษคิดเป็นประมาณ 8% ของก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด ที่ปล่อยเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ และจากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษระบุว่า ขยะอาหาร คิดเป็น 64% ของขยะทั้งหมด แต่ปรากฏ ว่ามีการนำขยะอาหารไปใช้ประโยชน์น้อยมาก เนื่องจากเทศบาลส่วนมากไม่มีการแยกขยะ เช่น กทม. รีไซเคิลขยะอาหาร ได้เพียง 2% เท่านั้น ที่เหลือจะนำไปกำจัดโดยวิธีการฝังกลบรวมที่ไม่มีระบบการจัดการแบบถูกสุขาภิบาล ซึ่งทำให้เรา ไม่สามารถนำขยะอาหารมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่
รู้หรือไม่ 1 ใน 3 ของปริมาณอาหารทั้งหมดที่ถูกผลิตขึ้นเพื่อการบริโภคของมนุษย์จะสูญเปล่าทุกปี ผลไม้และผักมีอัตรา การสูญเปล่าสูงสุด (เช่น เน่าเสีย ทิ้งเนื่องจากหมดอายุ หรือ เหลือเกินจากการบริโภค เป็นต้น) ปริมาณอาหารที่สูญเสียไป ทั่วโลกในแต่ละปีประมาณ 1.3 พันล้านตัน ซึ่งถือว่าเป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจประมาณ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หากให้ เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้นก็คือ มันมากพอๆ กับการทำอาหารแจกคนสองพันล้านคน ซึ่งยังมากกว่าจำนวนผู้ขาดสารอาหาร ทั่วโลกกว่าสองเท่า
Apeel – A New Solution to Food Waste ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือก และวิธีการที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก ในการช่วยลด ผลกระทบของปริมาณขยะอาหาร Apeel เป็นบริษัทที่อยู่เบื้องหลังพื้นผิวล่องหนที่กินได้บนผักและผลไม้ บริษัทนี้ก่อตั้งขึ้นในปี 2555 ด้วยทุนสนับสนุนจากมูลนิธิ Bill and Melinda Gates Foundation เป็นบริษัทที่ทำการค้นคว้าด้านเศษอาหารจากแคลิฟอร์เนีย ด้วยการระดมทุนจาก ธนาคารโลกและผู้บริจาคที่มีชื่อเสียงเช่น Katy Perry และ Oprah Winfrey
James Rogers ผู้ก่อตั้งบริษัท Apeel เล่าว่านี่เป็นการเริ่มต้นทางวิทยาศาสตร์อาหารที่มีจุดประสงค์ในการลดจำนวน เศษอาหารบนโลกใบนี้ลง ด้วยเทคโนโลยีสารกันบูดที่เคลือบผิวด้วยนวัตกรรมล้ำสมัย บริษัทของเขาได้พยายามพัฒนา สารเคลือบสารกันบูดแบบใหม่สำหรับผลิตภัณฑ์ที่เน่าเสียได้ง่าย อาทิ อะโวคาโด มะนาว และแอปเปิ้ล โดยปัจจุบัน มีการใช้ ควบคู่ไปผักและผลไม้ประเภทอื่นๆ อีกมากมาย